ท่านมาเยี่ยมชม ผมดีใจ ท่านจากไปผมคิดถึง

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคที่มาจากสัตว์เลี้ยง (โรคบรูเซลโลสิส )

โรคบรูเซลโลสีส (Brucellosis) หรือโรคแท้งในแพะ เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า บรูเซลลา (Brucella) มีแหล่งโรคในสัตว์ประเภทสัตว์เท้ากีบ เช่น แพะ กระบือ วัว หมู แกะ เชื้อบรูเซลลาบางสปีชีส์พบก่อโรคในสุนัข กวาง

imageและสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆโรคนี้จัดเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน พบได้ทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานติดต่อจากคนสู่คน คนจะติดโรคนี้จากสัตว์ โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากช่องคลอดสัตว์ที่ป่วย รวมทั้งเลือด เนื้อเยื่อ และปัสสาวะสัตว์

เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้สามทางด้วยกัน
  • ทางแรก คือ เชื้อเข้าผิวหนังที่มีบาดแผล หรือรอยขีดข่วน
  • ทางที่สอง เกิดจากการดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ทางที่สาม เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจ
แต่ที่สำคัญที่สุดเป็นการติดเชื้อโดยดื่มน้ำนมดิบจากสัตว์ที่ติดเชื้อเมื่อสัตว์ติดเชื้อ เช่น แกะ แพะ วัว หรืออูฐ น้ำนมของสัตว์พวกนี้จะมีเชื้ออยู่ด้วย และหากนำมาบริโภคโดยไม่ผ่านการต้มการพาสเจอไรส์ หรือการทำให้สุกด้วยความร้อนอื่นก็จะติดเชื้อไปด้วย สำหรับการติดเชื้อโดยการสูดดมเชื้อเข้าไป พบได้น้อยมาก มักเกิดขึ้นผู้ที่ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่ทำการเพาะเชื้อกรณีที่เชื้อเข้าผิวหนังที่มีบาดแผล หรือรอยขีดข่วน มกพบในคนงานในฟาร์ม หรือสัตวแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
ภายหลังรับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดตามข้อ ปวดตามร่างกาย อาการคล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง จะพบภาวะการติดเชื้อในระบบประสาทกลางและเยื่อบุผนังหัวใจ บางคนจะมีอาการป่วยได้เป็นเดือน มีไข้เป็นๆหายๆ ปวดข้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย และอาจมีอาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือทำให้กระดูก ระบบสืบพันธุ์ระบบการขับถ่ายปัสสาวะเกิดการอักเสบ พบได้ร้อยละ 20-60 แต่ส่วนใหญ่จะพบการอักเสบที่อัณฑะ
โรคบรูเซลโลสีส เชื่อว่าไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่มารดาที่เลี้ยงนมบุตรอาจถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ ไม่มีรายงานการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ถึงแม้ว่าอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่หากรักษาภายในสามวัน จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ส่วนการติดเชื้อผ่านทางเนื่อเยื่อที่นำมาปลูกถ่ายอวัยวะ พบมีรายงานในวารสารการแพทย์แต่น้อยรายมาก
ในประเทศสหรัฐอเมริกา โรคนี้พบได้น้อย ปีละประมาณ 100-200 ราย แต่ในประเทศที่การดูแลอนามัยของปศุสัตว์ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ยังพบโรคนี้ได้บ่อย เช่น ในกลุ่มประเทศแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน สเปน ปอร์ตุเกส ฝรั่งเศสทางภาคใต้อิตาลี กรีซ ตุรกี แอฟริกาทางตอนเหนือ ทวีบอเมริกากลางและใต้ ยุโรปตะวันออก ประเทศในทวีปเอเชีย และตะวันออกกลาง จากการติดตามสถานการณ์การป่วยในประเทศไทยพบว่ามีน้อยมาก พบประปรายในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2546–ปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคนี้เพียง 8 ราย เสียชีวิต 1 ราย ในปี 2546 พบ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย และปี 2547 พบ 3 ราย ในปีนี้พบป่วย 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ล้วนทำงานในฟาร์ม ใกล้ชิดกับแพะทั้งสิ้น โดย มี 1 รายที่ป่วยจากการกินนมแพะดิบ
image
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยการตรวจพบเชื้อในเลือดหรือไขกระดูก
ตรวจพบแอนติบอดี้ต่อเชื้อในเลือด ซึ่งตรวจห่างกันสองสัปดาห์ ยารักษา คือ ไรแฟมปิน และด็อกซีไซคลิน กินต่อเนื่อง 6 อาทิตย์ ระหว่างการรักษาผู้ติดเชื้อสามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องหยุดงาน เพราะโรคไม่ติดจากคนสู่คน ในต่างประเทศบางแห่งใช้ยาปฎิชีวนะกลุ่มใหม่ ให้ผลการรักษาที่ดีเช่นกัน ที่สำคัญคือต้องให้การวินิจฉัยที่รวดเร็วและให้การรักษาทันทีจะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง และผลการรักษาดีขึ้นมาก โดยทั่วไปจะหายภายในสองสัปดาห์ อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยกว่าร้อยละ 2ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตเกิดจากเยื่อบุผนังหัวใจอักเสบ
การป้องกันโรคไม่ให้ติดมาสู่คน
กลุ่มที่เสี่ยงติดโรคบรูเซลโลสิส ได้แก่ ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับแพะ เช่น คนงาน สัตวแพทย์ พนักงานโรงฆ่าสัตว์ คนรีดนมแพะ และผู้จำหน่ายเนื้อแพะตามเขียงเนื้อต่างๆจะต้องป้องกันตนเอง โดยแนะให้สวมชุดกันเปื้อนทำด้วยพลาสติก สวมถุงมือยางหนา ไม่ขาดง่าย สวมหน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง หากถูกเข็มที่ใช้เจาะเลือดแพะแล้วทิ่มตำมือขอให้รายงานผู้รับผิดชอบในฟาร์มทันที หากมีการสัมผัสสารคัดหลั่งจากแพะไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย รก น้ำเหลืองก็ตาม ให้รีบล้างมือและฟอกด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ หากมีอาการเจ็บป่วยที่อาจติดเชื้อโรคบรูเซลโลสิส ให้รีบแจ้งหัวหน้างานทันทีเพื่อไปพบแพทย์
ในส่วนของประชาชนทั่วไป ควรดื่มนมสุกแล้ว เช่น นมที่ผ่านการต้ม การพาสเจอไรส์ หรือการทำให้สุกด้วยความร้อนอื่นไม่ควรดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมดิบที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างเด็ดขาดสำหรับน้ำทิ้งจากฟาร์มสัตว์ที่ป่วยจากโรคบรูเซโลสิส ลงในแม่น้ำจะไม่ทำให้ติดโรคนี้ เนื่องจากเชื้อโรคเจือจางไปกับกระแสน้ำไปแล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น